สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 28 มิถุนายน-4 กรกฎาคม 2562

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ
(2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/ เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,726 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,774 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,771 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,762 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,470 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,650 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,134 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,462 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,125 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,333 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 129 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 419 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,733 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,001 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.64 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 268 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,551 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,726 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 175 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,855 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,001 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 146 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.3899
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย รายงานภาวะราคาข้าวไทยว่า มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี ทำให้ช่องว่างระหว่างราคาข้าวไทยและประเทศคู่แข่งมากขึ้น ซึ่งราคาที่สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยประกาศเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 5 ขณะที่เว็บไซต์ Oryza.com รายงานว่า ราคาข้าวขาว 5% ของเวียดนามและอินเดียทรงตัวอยู่ที่ตันละ 373-377 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปากีสถานราคาอ่อนตัวอยู่ที่ตันละ 358-362 ดอลลาร์สหรัฐ
"ในช่วงนี้ภาวะการค้าในตลาดส่งออกค่อนข้างซบเซา เนื่องจากประเทศผู้ซื้อยังคงมีสต็อกข้าวที่นำเข้าก่อนหน้านี้เพียงพอแล้ว จึงยังไม่เร่งรีบซื้อเพิ่มเติมและบางส่วนรอดูราคาข้าวก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ประกอบกับประเทศจีนเข้ามา
มีบทบาทในตลาดส่งออกมากขึ้น ทำให้ทั้งไทยและอินเดียสูญเสียส่วนแบ่งตลาดบางส่วนให้แก่จีน โดยเฉพาะตลาดแอฟริกา ซึ่งปีนี้คาดว่าจีนจะส่งออกได้มากกว่า 3 ล้านตัน"
ทั้งนี้ จากภาวะการแข็งขันในตลาดที่รุนแรงมากขึ้น สมาคมฯ จึงคาดว่าในเดือนมิถุนายน 2562 ปริมาณส่งออก
จะอยู่ที่ประมาณ 700,000 ตัน โดยคาดว่าในช่วงนี้จะเป็นการส่งมอบทั้งข้าวขาวและข้าวนึ่งให้กับตลาดประจำในแถบแอฟริกา เช่น เบนิน แองโกลา แอฟริกาใต้ แคเมอรูน โมซัมบิก เป็นต้น ขณะที่การส่งออกข้าวหอมมะลิและข้าวหอมไทยไปยังตลาดประจำ เช่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง จีน แคนาดา ก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปริมาณข้าวหอมมะลิจะลดลง แต่การส่งออกข้าวหอมไทยยังคงมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย รายงานการส่งออกข้าวรวม ในเดือนพฤษภาคม 2562 มีปริมาณ 667,257 ตัน มูลค่า 11,348 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 5.1 และร้อยละ 1.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2562 ที่ส่งออก 702,927 ตัน มูลค่า 11,463 ล้านบาท เนื่องจากการส่งออกข้าวขาวและข้าวนึ่งลดลงค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน โดยในเดือนพฤษภาคมส่งออกข้าวขาว 295,527 ตัน ลดลงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน
ส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศแองโกลา แคเมอรูน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เบนิน ฟิลิปปินส์ เคนยา โตโก โมซัมบิก เป็นต้น
ส่วนการส่งออกข้าวนึ่งมีปริมาณ 199,099 ตัน ลดลงร้อยละ 20.7 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ส่วนใหญ่ส่งไปตลาดประจำในแถบแอฟริกา เช่น เบนิน แอฟริกาใต้ เยเมน แคเมอรูน เป็นต้น ขณะที่การส่งออกข้าวหอมมะลิ (ต้นข้าว)
มีปริมาณ 84,852 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน ส่วนใหญ่ส่งไปยังตลาดหลักของข้าวหอมมะลิ เช่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง แคนาดา สิงคโปร์ เป็นต้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
 
เวียดนาม
สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) รายงานว่า ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 620,000 ตัน มูลค่า 272 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกเวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 3.38 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ขณะที่มูลค่าส่งออกอยู่ที่ประมาณ 1.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา
ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาทรงตัวอยู่ที่ราคาอยู่ที่ตันละ 340-345 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ในช่วงนี้เริ่มมีการส่งมอบข้าวให้ประเทศอิรักบ้างแล้ว ซึ่งเป็นสัญญาที่ทำไว้ก่อนหน้านี้จำนวน 150,000 ตัน
อย่างไรก็ตาม วงการค้าคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี ผู้ส่งออกจะประสบความยากลำบากในการขายข้าว ขณะที่ความต้องการข้าวจากประเทศจีนคาดว่าจะลดน้อยลง เนื่องจากรัฐบาลมีความเข้มงวดในการนำเข้ามากยิ่งขึ้น ประกอบกับสต็อกข้าวของจีนยังคงมีจำนวนมาก โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี เวียดนามส่งออกข้าวไปประเทศจีนลดลงถึง
ร้อยละ 73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ส่งออมากถึง 223,078 ตัน
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
จีน
สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) รายงานว่า การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (the National Grain Trade Center) สามารถขายข้าวได้รวม 408,753 ตัน จากที่นำข้าวออกประมูล ประมาณ 1,623,969 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 25.17 ของปริมาณข้าวที่นำมาเสนอขาย) โดย ราคาขายอยู่ที่ 2,030 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 295 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
ส่วนการประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืช แห่งชาติสามารถขายข้าวได้รวม 400,582 ตัน จากที่นำข้าวออกประมูลประมาณ 810,567 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 49.42 ของปริมาณข้าวที่นำมาเสนอขาย) โดยราคาขายอยู่ที่ 1,845 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 268 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
การประมูลขายข้าวจากสต็อกของรัฐบาล เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติสามารถขายข้าวได้รวม 34,821 ตัน จากที่นำข้าวออกประมูลประมาณ 1,012,238 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 3.44 ของปริมาณข้าวที่นำมาเสนอขาย) โดยราคาขายอยู่ที่ 2,557 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 372 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา สามารถขายข้าวได้รวม 368,339 ตัน จากที่นำข้าวออกประมูลประมาณ 1,620,497 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 22.73 ของปริมาณข้าวที่นำมาเสนอขาย) โดยราคาขายอยู่ที่ 2,074 หยวนต่อตัน หรือประมาณ 302 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในปี 2562 นี้ ช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-12 มีนาคมที่ผ่านมา หน่วยงานด้านการสำรองธัญพืช (the State Administration of Grains and Reserves; SAGR) ของรัฐบาลจีน
ได้นำข้าวเก่าจากสต็อกรัฐบาล ซึ่งเป็นข้าวสายพันธุ์ Indica ต้นฤดู (early indica rice) ออกมาเสนอขายประมาณ
7.24 ล้านตัน แต่สามารถขายได้เพียง 22,000 ตัน เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่โรงสีข้าวจะซื้อข้าวฤดูใหม่ไปใช้สำหรับ
การแปรรูปเท่านั้น
ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หน่วยงานด้านการสำรองธัญพืช (SAGR) ได้เริ่มนำข้าวสายพันธุ์ Indica กลางและปลายฤดู (mid-to-late indica rice) ออกเสนอขายก่อนกำหนดเวลาประมาณ 2 เดือน เพื่อลดภาระการสต็อกข้าวของรัฐบาล อย่างไรก็ตามคาดว่าการจำหน่ายข้าวจะล่าช้าออกไปจนถึงเดือนพฤษภาคมนี้ ขณะที่การเสนอขายข้าวสายพันธุ์Japonica ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะนำมาเสนอขายในช่วงเวลาใด
ทั้งนี้ เมื่อปี 2561 ช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-27 ธันวาคม 2561 ได้มีการจัดประมูลขายข้าวแล้ว ประมาณ 8.5 ล้านตัน (ไม่รวมข้าวที่ประมูลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม)
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.87 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.28 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.24 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.98 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.90 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.51 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 307.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,348 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 302.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,229 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 119 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 338.24 เซนต์ (4,105 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 443.88 เซนต์ (5,408 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23.80 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 1,303 บาท

 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.70 ล้านไร่ ผลผลิต 31.43 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.62 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.44 ร้อยละ 7.01 และร้อยละ 2.55 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.37 ล้านตัน (ร้อยละ 1.18 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.06 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ฝนตกอย่างต่อเนื่องและเกษตรกรเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังไม่ครบอายุ ทำให้เชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.66 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.65 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.61
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.56 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.38 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.35
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.56 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.54 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.31
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.95 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 13.01 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.46
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,081 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,111 บาทต่อตัน)   
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,463 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,519 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน
 
 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ

          ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศประจำปีการผลิต 2561/2562 (ฉบับปิดหีบ) ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลแล้วจำนวน 130,970,004 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 14,580,671 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 11,299,049 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 3,281,622 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.64 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 111.33 กก.ต่อตันอ้อย
          คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 รับทราบและเห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อย   ไฟไหม้ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ดังนี้
          1. มาตรการทางกฎหมาย โดยจะมีการออกระเบียบให้ทันในฤดูการผลิตปี 2562/2563 กำหนดให้โรงงานน้ำตาลจะรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกินร้อยละ 30 ต่อวัน สำหรับในฤดูการผลิตปี 2563 /2564 โรงงานน้ำตาลจะรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกินร้อยละ 20 ต่อวัน และในฤดูการผลิตปี 2564/2565 จะลดปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบเพียงร้อยละ 0-5 ต่อวัน ซึ่งจะทำให้อ้อยไฟไหม้หมดไปภายในภายใน 3 ปี
          2. มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐในการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งจะขยายโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจรปี 2562 - 2564 รวมทั้งจะนำเสนอมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตรถตัดอ้อยไทยด้วยการเพิ่มศักยภาพการผลิตและจำหน่ายให้เพียงพอกับความต้องการและส่งเสริมการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยการใช้รถตัดอ้อย และเครื่องจักรกลการเกษตรอื่น ๆ นำไปจดทะเบียนเครื่องจักรตามกฎหมายกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อนำไปเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันกับแหล่งเงินกู้ได้อีกด้วย
          3. มาตรการขอความร่วมมือด้านการบริหารจัดการ เพื่อเป็นต้นแบบการเก็บเกี่ยว และการขนส่งอ้อยให้โรงงาน โดยความร่วมมือจากโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยในฤดูการผลิตปี 2562/2563 เพื่อกำหนด พื้นที่ปลอดการเผาอ้อย เป็นจังหวัดต้นแบบปลอดการเผาอ้อย ตัดอ้อยสด ร้อยละ 100 ในแต่ละภาค รวม 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเลย และจังหวัดอุตรดิตถ์ การจัดการ    พื้นที่ลดการเผาอ้อยรอบชุมชนในรัศมี 5 กิโลเมตร และรอบโรงงานน้ำตาลในรัศมี 10 กิโลเมตร และการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดคิวรับอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้
 
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ         
          รายงานการจัดสรรโควตานำเข้าน้ำตาลของสหรัฐฯ
          สำนักงานผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ ได้ประกาศเพิ่มการจัดสรรน้ำตาลโควตานำเข้าของสหรัฐฯ สำหรับปี 2561/2562 (ตุลาคม-กันยายน) จำนวน 100,071 เมตริกตัน (มูลค่าน้ำตาลทรายดิบ) ตามอัตราภาษีขององค์การการค้าโลก (TRQ) โดยมีประเทศที่ได้รับการจัดสรรที่สำคัญ ๆ ได้แก่ บราซิล 22,464 เมตริกตัน ออสเตรเลีย 12,859 เมตริกตัน กัวเตมาลา 7,437 เมตริกตัน และไทย 2,169 เมตริกตัน



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 886.60 เซนต์ (10.04 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 899.36 เซนต์ (10.22 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.42
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.85 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.46 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 314.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.74 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.56
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.98 เซนต์ (19.00 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 28.08 เซนต์ (19.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36


 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.24 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 19.43 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.12
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.20 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.05
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.80 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 985.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 982.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 893.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.14 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 916.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.55 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.83 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 985.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 982.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 589.00 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 587.00 ดอลลาร์สหรัฐ (17.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1038.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.57 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1009.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.80 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.93 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.77 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.51 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อย 0.13
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.83 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย
 
          1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
          ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.21 (กิโลกรัมละ 44.99บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 64.90 (กิโลกรัมละ 44.28 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.71 บาท

 
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,659 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,334 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 836 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรยังคงมีอย่างต่อเนื่องและใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตสุกรในท้องตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  72.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.48 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 72.39 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.12 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 72.66 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.21 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,200 บาท (บวกลบ 74 บาท)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.83 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 74.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.90

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่มีไม่มากนัก  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.91บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.24  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.86 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.86 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโดยคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ได้ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ด้วยการปรับสมดุลการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการบริโภคในประเทศ ลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไข่ไก่ของไทยจากปัญหาไข่ไก่ล้นตลาด เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่สามารถขายไข่ไก่ได้ในราคาที่น่าพึงพอใจ และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค โดยได้ปรับสมดุลปริมาณไข่ไก่ให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด ด้วยการขอความร่วมมือภาคเอกชนผู้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ปรับลดกำลังการผลิต บางส่วนนำผลผลิตไข่ไก่ส่วนเกินออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ อีกทั้งปรับลดแม่ไก่ไข่ยืนกรงทั้งอุตสาหกรรม ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 285 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 282 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 283 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ  321  บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  335 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 332 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 313 บาท และภาคใต้ ร้อยละ 368 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 350 บาท  สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 340 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 2.94

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.05 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.98 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 84.58 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.18 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.99 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.63  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.02 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.95 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 48.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.05 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.67 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.10 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.14 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.19 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.27 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 139.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.66 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.84 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 132.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.11 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% เฉลี่ยสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา